Google Search Console เครื่องมือจาก Google ตอบโจทย์นักการตลาดออนไลน์อย่างไรบ้าง

Google Search Console

Google Search Console เป็นเครื่องมือ ที่ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงและตอบโจทย์กับความต้องการของหลายๆองค์กรโดยเฉพาะการทำธุรกิจในรูปแบบ SEO นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือที่ไม่มีการลงทุนสูงหรือเสียค่าใช้จ่ายใดๆในการใช้งาน โดยหน้าที่หลักๆจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตรวจสอบ และคอยดูแลให้เว็บไซต์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือมากขึ้นให้กับเว็บไซต์นั้นๆ รวมไปถึงการแก้ปัญหาที่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาของ URL หรือปัญหาเรื่อง Mobile Usability ก็ตาม และที่สำคัญยังเป็นเครื่องมือที่จะช่วยในเรื่องของการวิเคราะห์และการแสดงลำดับดับการค้นหาบนแพลตฟอร์มของGoogle

ดังนั้น ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่เหมาะกับบุคคลที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง โดยเฉพาะกลุ่มคนจากองค์กร SEO หรือฝั่งผู้พัฒนาเว็บไซต์ที่ต้องการตรวจสอบคุณภาพและความเรียบร้อยของเว็บไซต์อยู่เสมอ และทั้งหมดก็เพื่อให้เว็บไซต์นั้นได้มีโอกาสในการติดหน้าแรกของ Google มากยิ่งขึ้น ซึ่งทุกคนสามารถเข้าใช้งานเครื่องมือตัวนี้ได้ในทันที เพียงแค่มีบัญชีของ Google เท่านั้น

ทำไมต้องเป็น Google Search Console

ทำไมต้องเป็น-Google-Search-Console

เนื่องจากเราสามารถใช้เครื่องมือได้ฟรีเพียงแค่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง และยังสามารถใช้งานได้ง่าย ไม่ยุ่งยากที่จะทำความเข้าใจหรือศึกษาด้วยตัวเอง คุณจะได้รับความหลากหลายในการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อธุรกิจบนเว็บไซต์หรือการตลาดออนไลน์ของคุณได้

ประโยชน์ของ Google Search Console ในการทำธุรกิจบนเว็บไซต์

  • สามารถใช้ในการดูข้อมูลการเข้าชมของ Google Search สำหรับเว็บไซต์ของคุณ โดยเป็นการตรวจสอบผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราเข้ามาจากคีย์เวิร์ดคำ และความถี่ที่คนเข้าเว็บไซต์ รวมถึงแสดงเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของคุณด้วย

  • สามารถช่วยให้ Google เข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้ดีมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เว็บไซต์ของเรามีโอกาสที่จะติดหน้าแรกของ Google เป็นระยะเวลาที่นานกว่า เพราะถือว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ

  • สามารถใช้ในการแก้ไขปัญหาในการจัดทำดัชนีและสามารถใช้ในการออกคำสั่งในการจัดทำดัชนีใหม่สำหรับเนื้อหาใหม่หรือเนื้อหาที่ได้มีการอัพเดต

  • สามารถใช้แก้ปัญหาในเรื่องของ AMP ที่มีความสามารถในการใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ และคุณลักษณะการค้นหาอื่น ๆ

  • สามารถรับการแจ้งเตือนเมื่อ Google พบการจัดทำดัชนีที่มีการสแปม หรือปัญหาอื่น ๆ บนเว็บไซต์ของคุณ

  • สามารถใช้ในการยืนยันว่า Google สามารถค้นหาและรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ของคุณได้

  • สามารถแสดงให้คุณเห็นได้ว่าเว็บไซต์ใดเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของคุณ และมากน้อยแค่ไหน

องค์กรที่ควรเลือกใช้ Google Search Console ในการทำธุรกิจเกี่ยวกับเว็บไซต์

1.นักธุรกิจ / เจ้าของธุรกิจ

เจ้าของธุรกิจ ถึงแม้อาจจะไม่ได้มีการใช้โดยตรงหรือด้วยตนเอง แต่ถ้าคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีการใช้สื่อหรือเว็บไซต์ในการเพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจคุณแล้ว ดังนั้นการที่มีเว็บไซต์จึงจำเป็นที่จะต้องรู้จัก และ มีการบอกทีมหรือคนในองค์กรของคุณให้ใช้เครื่องมือ หรือทำความรู้ความเข้าใจพื้นฐาน และประโยชน์ในการใช้เครื่องมือ

2.นักการตลาด / ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO

นักการตลาดและผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO ถือเป็นกลุ่มบุคคลที่มีการมุ่งเน้นด้านการทำธุรกิจการตลาดออนไลน์เป็นหลัก ดังนั้นการเลือกใช้เครื่องมือนี้ จึงถือเป็นการช่วยตรวจสอบเว็บไซต์ของธุรกิจ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของการจัดอันดับของเว็บไซต์ และเพราะเหตุนั้นจึงยังจะช่วยในเรื่องการตัดสินใจอย่างรอบคอบเกี่ยวกับลักษณะที่ปรากฏของผลการค้นหาของเว็บไซต์ของคุณ

โดยคุณสามารถที่จะใช้ข้อมูลในนี้ เพื่อโน้มน้าวการตัดสินใจทางเทคนิคสำหรับเว็บไซต์ และทำการวิเคราะห์การตลาดที่ซับซ้อนร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ ของ Google ยกตัวอย่างเช่น Analytics, Google Trends และ Google Ads เป็นต้น

3. ผู้ดูแล / ผู้จัดการเว็บไซต์

ในส่วนของผู้ดูแลระบบของเว็บไซต์ซึ่งจะมีหน้าที่หลักที่คอยต้องเอาใจใส่เกี่ยวกับการดำเนินงานที่ดีและมีประสิทธิภาพของเว็บไซต์อยู่เสมอ ดังนั้นเครื่องมือนี้ จึงได้เข้ามาช่วยให้ผู้ดูแลเว็บไซต์ตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดของเซิร์ฟเวอร์ ปัญหาการโหลดเว็บไซต์ และปัญหาด้านความปลอดภัย ให้สะดวกยิ่งขึ้น

ยกตัวอย่างในบางกรณีที่อาจมีการแฮ็กข้อมูลจากผู้ไม่หวังดี คุณสามารถใช้ตรวจดูเพื่อให้แน่ใจว่ามีการดูแลรักษาเว็บไซต์อย่างดีแล้ว

4. นักพัฒนาเว็บไซต์

หากคุณกำลังสร้าง มาร์กอัพ (Markup) หรือที่เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นภาษาที่แสดงข้อมูล โครงสร้าง รูปแบบ ไปตลอดจนข้อมูลอื่น ๆ และรวมถึงถ้าหากกำลังสร้างโค้ดสำหรับเว็บไซต์ด้วยแล้ว การใช้เครื่องมือ Google Search Console นั้นจึงสามารถเข้ามามีบทบาทได้ในทันทีเพื่อที่จะช่วยตรวจสอบและแก้ไขปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับมาร์กอัพ ยกตัวอย่างเช่นในกรณีถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดของโคตรงสร้าง ข้อมูลใด ๆ การใช้เครื่องมือนี้จะช่วยให้ผู้พัฒนาสามารถรู้และแก้ไขได้ในทันที

ขั้นตอนการเพิ่มเว็บไซต์ลงใน Google Search Console

การเริ่มใช้งานสำหรับเว็บไซต์ของตนเองนั้น สิ่งที่จำเป็นอันดับแรก คือต้องเพิ่มเว็บไซต์ลงใน Google Search Console ก่อน ด้วยวิธีทั้ง 6 ขั้นตอนดังนี้

1.ลงทะเบียนการเข้าใช้งานโดยใช้บัญชี Google Account และถ้าหากเป็นเว็บไซต์นั้นเป็นเว็บไซต์สำหรับธุรกิจทางการตลาด จึงควรที่จะใช้เป็นบัญชีธุรกิจ ไม่ใช่บัญชีส่วนตัว



2.ทำการค้นหาหรือเข้าไปที่ Google SearchConsole



3.เมื่อเข้ามาแล้วให้คลิกเลือกที่ Add Property ที่อยู่ที่เมนูด้านมุมซ้าย



4. ต่อจากนั้นให้เลือกไปยังที่ตัวเลือก Website เพื่อที่จะใส่ URL ของเว็บไซต์ตนเองลงไป พร้อมกับคลิก Continue เพื่อดำเนินการต่อ

Google Search Console
เริ่มต้นใช้งาน Google Search Console

5.ต่อมาจะมีตัวเลือกเพื่อใช้สำหรับในการยืนยันตัวตน ซึ่งจะมีให้เลือกทั้งหมด 5 วิธีด้วยกัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราสามารถเข้าถึง ข้อมูลเชิงลึกของเว็บไซต์ ซึ่งบางส่วนก็จะเป็นข้อมูลลับ ดังนั้นการยืนยันตนกับจึงเป็นเรื่องจำเป็น

5.1 การอัปโหลดไฟล์ HTML คือ การนำไฟล์ HTML สำหรับยืนยันตนที่ได้จาก Google SearchConsole ไปอัปโหลดในส่วนใดส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ เพื่อยืนยันตนว่าเป็นผู้มีสิทธิ์ในการจัดการเว็บไซต์นั้นได้จริง

5.2 การใช้ Domain Name Provider คือ การลงชื่อเข้าใช้ในไปยังผู้ให้บริการด้านโดเมน แล้วจึงเลือกสองช่องทางระหว่างการเข้าไปยืนยันตนโดยตรงจาก Google SearchConsole กับการเพิ่ม DNS TXT หรือ CNAME record เข้าไป

5.3 การใส่ HTML Tag คือ การใส่ tag เข้าไปยัง HTML Code ในหน้าเว็บไซต์

5.4 การใช้ Google Analytic Tracking Code คือ การใช้ Tracking Code ของ Google Analytic ที่ใช้กับเว็บไซต์ของเราเพื่อยืนยันตน

5.5 Google Tag Manager Container Snippet Code โดยเราสามารถนำ Code ดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์เพื่อทำการยืนยันตน

6. ถ้าหากเว็บไซต์ของเรา รองรับทั้ง http:// และ https:// เราจำเป็นที่จะต้องใส่ทั้งคู่ ซึ่งรวมทั้งโดเมนอื่น ๆ

ความหมายและวิธีการใช้ฟังก์ชันที่สำคัญ

เมื่อมีการเตรียมความพร้อมและติดตั้งเรียบร้อยแล้ว  ก็จะพบกับฟังก์ชันมากมายที่อยู่ภายในนั้น เพื่อที่ช่วยให้เว็บไซต์ของธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้นจึงจำเป็นต้องรู้จักกับฟังก์ชันหลักต่าง ๆ ที่มีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • Performance คือ การแสดงผลที่มีประสิทธิภาพของข้อมูล ที่มีความเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ที่จำเป็นต่อการทำ SEO และยังสามารถรายงานในการทำงานรวมไปถึงปริมาณคนที่เข้าถึงเว็บไซต์ได้ย้อนหลังเป็นเวลา 16 เดือน โดยวิเคราะห์จากยอดการคลิกลิงก์โดยรวม หรือวิเคราะห์จากประเทศที่มีการเข้ามาชมเว็บไซต์
  • URL Inspection คือ การแสดงผลหรือรายงานให้รู้ว่า URL เว็บไซต์ของเราอยู่ในความพิจารณาของ Google ด้วยหรือไม่ และยังมีการรายงานว่าระบบ Crawling หรือการสำรวจของ Google มาสำรวจล่าสุดเมื่อตอนวันไหน นอกจากนี้ URL Inspection ยังถือเป็นเครื่องมือที่มาใหม่ของ Google ที่มีประสิทธิภาพอย่างเห็นได้ชัด
  • Sitemap คือ ไฟล์ที่ทำหน้าที่บอกว่าเว็บไซต์ของเรามี URL อะไรเชื่อมอยู่บ้าง และมีเนื้อหาอะไรที่เกี่ยวข้องกันมากน้อยอย่างไร
  • Mobile Usability คือ การระบุให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่าเว็บไซต์นั้นมีความปลอดภัยต่อผู้ที่ใช้อุปกรณ์สื่อสารอย่างโทรศัพท์หรือไม่ และถ้าหากมีข้อผิดพลาดควรที่จะปรับแก้อย่างไร
  • Security Issue คือ การรายงานปัญหาด้านความปลอดภัย คอยแจ้งเตือนหรือแสดงผลหากเว็บไซต์ของเรากำลังถูกโจมตีอยู่ หรือแม้หากมีจุดที่เสียงเสี่งต่อการถูกโจมตีก็จะมีการรายงานจาก Security Issue ในทันที เพื่อทันเวลาในการแก้ไข

การใช้งานเพื่อวิเคราะห์ SEO

การใช้เครื่องมือนี้สามารถที่จะนำมาวิเคราะห์เกี่ยวกับ SEO ได้โดยการเลือกใช้ Search Result ที่สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดหรือทำการวิเคราะห์ในการทำธุรกิจรูปแบบ SEO ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีตัวเลือกที่สำคัญ ๆ ที่มีความหมาย ดังนี้

Click

คือ จำนวนการคลิกเข้ามาชมเว็บไซต์ของเราผ่านหน้าการค้นหา ซึ่งจะแสดงผลส่วนนี้แค่สำหรับการคลิกที่เป็น Organic หรือ ที่ไม่ใช่การโฆษณาเท่านั้น

Page

คือ การกำหนดหน้าเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการค้นหา ซึ่งเราสามารถกำหนดได้เลยว่าอยากดูเฉพาะคอนเทนต์ไหน

AVG. Position

คือ ค่าเฉลี่ยของลำดับในการค้นหาว่าอยู่ลำดับที่เท่าไหร่ โดยจะแสดงผลออกมาตามยอดการค้นหา

Date

คือ การแสดงผลของช่วงวันและเวลาที่ต้องการให้ มันจะแสดงผลออกมา ซึ่งสามารถกำหนดได้ตามความต้องการของข้อมูลนั้น ๆ

Query

คือ คีย์เวิร์ดหรือคำที่ผู้ใช้ใช้ในการค้นหาใน Search Engine ซึ่งสามารถกดที่ New เพื่อเพิ่ม Filter เป็นคำดังกล่าวได้

หรือในกรณีที่ต้องการวิเคราะห์ว่าเว็บไซต์ของเราติดอันดับคำว่า Google SearchConsole หรือไม่ จึงเลือกกดเพิ่มแล้วเลือก Query เพื่อเติมคำว่า Google SearchConsole เข้าไปเพื่อทำการวิเคราะห์

Impression

คือ ค่าการถูกแสดงผล ซึ่งเป็นจำนวนที่เว็บไซต์เราถูกแสดงขึ้นในหน้าการค้นหา ซึ่งก็เช่นกันที่ Google SearchConsole จะไม่นับการแสดงผลที่มาจากโฆษณา โดยจะนับแค่ที่เป็น Organic เท่านั้น

Search Type

คือ ตัวเลือกประเภทของการค้นหาที่ต้องการเอาข้อมูลมาจาก Google SearchConsole

เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์หรือเปรียบเทียบ โดยสามารถเลือกได้ทั้งรูปแบบการค้นหาเว็บไซต์ รูปภาพ วิดีโอ หรือ ข่าวสารต่าง ๆ

AVG. CTR

คือ ค่าเฉลี่ยของ Click Through Rate ซึ่งเป็นค่าที่มาจากการคลิกเข้าเว็บไซต์โดยคิดเป็นหนึ่งครั้งต่อจำนวนการมองเห็น

ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยแสดงให้เจ้าของเว็บไซต์รู้ในทันทีว่าคอนเทนต์ หรือ โฆษณาของตนเองนั้นมีความน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน

สรุปการใช้งานในการยกระดับเว็บไซต์หรือการทำธุรกิจในรูปแบบ SEO

การที่นักธุรกิจหรือองค์กรณีต่าง ๆ ได้เลือกใช้ Google SearchConsole ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ตอบโจทย์อย่างมากต่อผู้ที่เริ่มมีการลงมือทำธุรกิจหรือการทำตลาดออนไลน์ หรือผู้ที่ทำธุรกิจอยู่แล้วแต่ต้องการเพิ่มความสะดวกที่จะทำให้ธุรกิจของตนเองนั้นมีความน่าเชื่อถือหรือประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม เพราะเนื่องจากความสามารถหลัก ๆ ของเครื่องมือนี้นั้นคือการตรวจสอบปัญหาเว็บไซต์ที่เจาะลึกเพื่อให้สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ตรงจุดและในทันทีจริง ๆ

และยังมีการวิเคราะห์และให้คำแนะนำต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทาง รวมถึงยังเป็นเครื่องมือที่ไม่มีการเสียต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายมากจนเกินไป และด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงยิ่งทำให้ถูกเลือกเป็นเครื่องมือที่สำคัญต่อการทำธุรกิจรูปแบบออนล์หรือรูปแบบ SEO อย่างมาก

ทั้งนี้แล้วในการใช้งาน นั้นไม่ได้ใช้เพียงในการนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ปรับคุณภาพของ SEO เท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปใช้ร่วมกันกับเครื่องมือต่าง ๆ ได้อีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น Google Trend หรือ  Ubersuggest ที่เป็นการนำข้อมูลไปอ่านและวิเคราะห์เพื่อวางกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วยเช่นกัน