Core Web Vitals คืออะไร ศึกษาไว้ไม่เสียหลาย

Core Web Vitals คืออะไร

Core Web Vitals คือมาตรฐานที่ Google นำมาใช้วัดประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ หรือ UX (User Experiences) สำหรับเว็บไซต์ เพราะนอกจากเนื้อหาเว็บไซต์ของคุณจะต้องมีคุณภาพแล้ว Google ก็ต้องการที่จะให้ผู้ใช้งานนั้น ได้รับประสบการณ์ที่ดีในเรื่องของประสิทธิภาพของการตอบสนองของเว็บไซต์ หรือความเร็วในการโหลดเนื้อหาในเว็บ และความเสถียรของดีไซน์ในเว็บไซต์นั้น ๆ

ดังนั้นเพราะเป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะนี่ถือเป็นเรื่องที่จะช่วยคุณในการเช็กคุณภาพของเว็บไซต์ได้แล้ว รวมถึงยังส่งผลต่อ SEO ของเว็บไซต์คุณอีกด้วย Core Web Vitals จึงได้ถูกใช้เป็นหนึ่งในปัจจัยในการจัดอันดับของการทำ SEO โดยประกอบไปด้วยปัจจัยหลักสามตัวคือ LCP CLS และ FID ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัย มีความหมายดังนี้

  1. Largest Contentful Paint (LCP)

    LCP หรือ Largest Contentful Paint เป็นตัววัดผลในเรื่องของเรื่องของการทำงานของเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ ความเร็วในการดาวน์โหลดเนื้อหาในหน้าของเว็บไซต์ โดย LCP จะทำการวัดจากองค์ประกอบต่าง ๆ ที่อยู่ในเว็บไซต์ เช่น เนื้อหา ภาพประกอบ หรือวิดีโอ โดยเมื่อนับจากองค์ประกอบแต่ละส่วนแล้วความเร็วที่ถือว่าเหมาะสมนั้นควรใช้เวลาดาวน์โหลดเนื้อหาไม่เกิน 2.5 วินาที
    ** LCP ไม่ใช่นับรวมการโหลดทั้งหน้าเว็บไซต์ แต่จะเป็นการนับจากส่วนใดส่วนหนึ่งของคอนเทนต์ที่ใช้เวลาโหลดเยอะที่สุดในเว็บไซต์ เนื่องจากเวลาเว็บมันโหลด element ต่าง ๆ มันจะมีการแบ่งเป็นช่วง ๆ ซึ่งแต่ละช่วงของการโหลด จะมีส่วนที่เป็น LCP ต่างกัน ดังนั้น เวลาโหลดหน้าหนึ่งครั้ง อาจจะมีหลาย element ที่นับเป็น LCP

    มาตรฐานของ Google สำหรับ LCP
    Google มีมาตรฐานความต้องการให้คอนเทนต์หรือเนื้อหาที่ใหญ่ที่สุดในเว็บไซต์นั้นใช้เวลาในการโหลดไม่เกิน 2.5 วินาทีเท่านั้น หรือถ้าใช้เวลาเกิน 4 วินาทีไปแล้วจะถือว่าแย่มาก
    โดยส่วนใหญ่แล้วบางส่วนในเว็บไซต์ที่มักจะเป็นปัญหาและใช้เวลาในการโหลดนานคือมักจะเป็นไฟล์รูปภาพขนาดใหญ่ (ไฟล์ .png) หรือรวมไปถึงไฟล์ video ที่สั่งโหลดทั้งคอนเทนต์โดยที่ยังไม่ได้กดเล่น หรืออาจจะเป็น server ที่ไม่มีประสิทธิภาพจนมีการเสิร์ฟภาพออกมาช้ากว่าที่ควรจะเป็นนั่นเอง

  2. Cumulative Layout Shift (CLS)

    CLS หรือ Cumulative Layout Shift เป็นตัววัดความเสถียรของ Layout ของเว็บไซต์ โดยปัญหาเหล่านี้คุณสามารถเห็นได้ชัดเจนบนหน้าเว็บไซต์ ซึ่งสามารถยกตัวอย่าง Layout ที่ต้องวัดความเสถียรได้คือ การที่ฟอนต์ที่มีขนาดเล็กเกินไปจนอ่านยาก การที่มีปุ่มขนาดเล็ก หรืออยู่ติดกับปุ่มด้านข้างมากเกินไปจนทำให้กดผิด หรือจะเป็นการที่ดีไซน์ที่ย้ายไปย้ายมาในขณะที่หน้าเว็บไซต์กำลังโหลดอยู่ เป็นต้น

    สาเหตุที่มักจะทำให้ Layout ไม่เสถียร
    สาเหตุส่วนใหญ่จะถูกพบได้บ่อยกับเว็บไซต์ที่มีการโหลดพวกวาง pop-up ใส่ ads หรือการฝัง iframe ตอนที่โหลดไม่เสร็จ ทำให้เมื่อพื้นที่ที่ได้วาง Layout ที่ยังไม่รู้ว่ามากแค่ไหนและต้องใช้พื้นที่เยอะหรือไม่ได้มีการจองพื้นที่สูงไว้ แต่พอเมื่อมีการโหลดเสร็จความสูงของพื้นที่ตรงนั้นกลับมีการเพิ่มขึ้นสูงออกมาทันทีและตรงนี้ทำให้ผู้เข้าใช้งานอาจไม่พอใจได้

    วิธีแก้ไข Layout ที่ไม่เสถียร
    การแก้ไขปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแค่ทำการปรับเปลี่ยนดีไซน์ของเว็บไซต์คุณให้เหมาะสมมากขึ้น ไม่ใช้ฟอนต์เล็กจนเกินไปหรือการวางตำแหน่งให้พอดี ไม่ใกล้กันจนเกินไป ที่สำคัญหากคุณรู้ว่าส่วนไหนจะมีการวาง pop-up หรือพวก ads ที่จะโหลดมาทีหลัง ให้จองพื้นที่ที่มีความสูงเท่ากับหรือใกล้เคียงสิ่งที่จะโหลดเอาไว้เลย เมื่อมันโหลดเสร็จ Layout จะได้ไม่เคลื่อน และแสดงผลออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ และในส่วนของแบนเนอร์ต่าง ๆ อาจปรับตำแหน่งการวางใหม่เพื่อไม่ให้แทรกกลางเนื้อหา หรือ เหลือพื้นที่สำหรับให้แบนเนอร์ขึ้นโดยไม่ไปแทรกกับองค์ประกอบอื่น ๆ ในเว็บไซต์มากขึ้น แค่นี้ปัญหาเหล่านี้ก็จะถูกแก้ไขได้แล้ว

  3. First Input Delay (FID)

    FID หรือ First Input Delay เป็นตัววัดผลความเร็วในการตอบสนองของเว็บไซต์ว่าหากเมื่อผู้ใช้งานมีการคลิกปุ่ม Call to action ต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์แล้วนั้นต้องใช้ระยะเวลาในการตอบสนองกลับมานานแค่ไหน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคลิกเลือกเมนูในเว็บไซต์แล้วจะทำการเปลี่ยนหน้าเร็วหรือไม่ หรือการกด Submit เมื่อมีการลงทะเบียนนั้นจะต้องใช้เวลาประมวลผลข้อมูลนานหรือไม่ เป็นต้น
    โดยระยะเวลา Delay ของการ interactive ระหว่างผู้ใช้กับเว็บไซต์จะต้องดี Google ถึงจะมองเห็นถึงคุณภาพของเว็บไซต์คุณ ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้งานกดปุ่มแล้ว code แล้วปุ่มนั้นต้องมีการตอบสนองทันที หรือเมื่อผู้ใช้งานคลิกไปยังที่ช่อง input เพื่อพิมพ์ข้อมูล dropdown checkbox การตอบสนองตรงนี้ ต้องใช้เวลาไม่เกิน 100 วินาที หรือ 0.1 วินาทีถึงจะดีที่สุด เป็นต้น

    สาเหตุที่ทำให้เว็บไซต์ Delay หรือมีการตอบสนองช้า
    Google เคยการกล่าวไว้ว่า การทำงานของเว็บไซต์นั้นมีหลายส่วนมากและหากเว็บไซต์ของคุณมีการใช้ script เยอะเกินความจำเป็นก็จะทำให้การประมวลผลของ browser เกิดการไม่เสถียรเพราะทำในส่วนอื่นอยู่ทำให้มีการตอบสนองช้า หรือบางสาเหตุก็เกิดจากการที่เว็บไซต์มี code ที่ไม่ได้ใช้เยอะมากจนเกินไป อย่างเช่น WordPress ที่ติดตั้ง Plugin จำนวนมาก หรือ Theme ที่ใช้ Page Builder ขนาดใหญ่มาก เกินความจำเป็นและจนทำให้เว็บไซต์เกิดการ Delay ในที่สุด

Core Web Vitals มีผลกับการทำ SEO มากแค่ไหน

Core Web Vitals มีผลกับการทำ SEO มากแค่ไหน

Semrush ได้มีการตรวจสอบเพื่อดูผลกระทบของเว็บไซต์หลังจากที่มีการเริ่มใช้งาน Core Web Vitals โดยพบว่าเว็บไซต์ที่มีการติดอันดับผลการค้นหาในหน้าแรกส่วนใหญ่แล้วจะมีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ถึงตัวเกณฑ์คะแนนจะไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของอันดับที่ตรงไปตรงมามากเท่ากับปัจจัยอื่น ๆ แต่สำหรับการทำ SEO สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณก็ควรจะทำเว็บไซต์ให้ดีที่สุดในทุก ๆ ด้านอยู่แล้ว เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ของคุณเองมี Performance ที่ดีขึ้นไปอีก

ดังนั้นตัวเกณฑ์คะแนน Core Web จึงถือเป็นอีกสิ่งสำคัญ เช่นเดียวกันกับปัจจัยอื่น ๆ โดยข้อดีที่มีต่อการทำ SEO คือ ช่วยให้การใช้งานลื่นไหล คลิกแล้ว ไม่ช้า หรือ หน่วง และโหลดได้เร็วมากขึ้น รวมถึงจะคอยช่วยปรับตำแหน่งการวาง ปุ่ม ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการใช้งาน แค่นี้ก็ถือเป็นตัวช่วยที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณได้รับความสนใจจาก Google แล้ว

วิธีการเช็กคะแนน Core Web Vitals สามารถทำได้อย่างไรบ้าง

วิธีการเช็กคะแนนCore Web Vitals

โดยการเช็กคะแนนสามารถทำได้ทั้งบน Google Search Console ของเว็บตัวเอง หรือว่าเช็กแบบฟรีได้บน PageSpeed Insights ก็ได้ ซึ่งทั้ง 2 สามารถทำได้ ดังนี้

1.Core Web Vitals CLS Screenshot แบบ Search Console
อย่างแรกคือต้องเข้าไปที่ Search Console แล้วเลือกเมนู Page Experiences ที่อยู่ทางซ้ายมือ จากนั้นจึงจะมีข้อมูลเว็บไซต์ของคุณแสดงขึ้นมา โดยจะมีคะแนนแยกทั้งแบบการใช้งานทาง Mobile และ Desktop จากนั้นก็จึงเลือกคลิกที่ Core Web Vitals เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

Core Web Vitals CLS Screenshot แบบ Search Console

เมื่อได้เข้ามาดูที่เมนูจะเห็นข้อมูลที่เป็นเหมือนกราฟแสดงผลที่มีสีเขียวกับสีแดงหรือสีเหลืองเป็นการวัดค่าระดับความมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะไม่ต้องเป็นสีเขียวก็ได้ แต่ที่สำคัญคืออย่าขึ้นสีแดงจะดีที่สุด

นอกจากนี้ยังสามารถคลิกเข้าไปดูในแต่ละ Status ที่อยู่ด้านล่างได้เพื่อจะดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับละเอียดว่าแต่ละ URL ของเรามีปัญหาตรงไหนบ้าง เพื่อทำการแก้ไขทันทีและเมื่อแก้เสร็จแล้วก็มากด Validate Fix เพื่อให้ Google เข้ามาเก็บข้อมูลใหม่อีกครั้ง

2.การเช็กแบบ Google PageSpeed Insights
PageSpeed Insights เป็นเครื่องมือของ Google ที่ไว้ให้เราสามารถใช้เช็กข้อมูลทางด้านความเร็วและ Performance ของเว็บไซต์ โดยมีวิธีการดังนี้

  • ให้คุณไปที่ https://pagespeed.web.dev/ แล้วใส่ URL หน้าเว็บของเราที่ต้องการเช็กลงไป แล้วกด Analyze
  • จากนั้นจะมีการแสดงผลข้อมูลออกมาทันทีเลย ผ่านหรือไม่ผ่าน โดยจะทั้งแบบการใช้ Mobile และ Desktop มาให้เลือกด้วย (และที่Google ตั้งให้ Mobile เป็น Default ก็เพราะว่าคนส่วนใหญ่ใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือมากกว่า)
Google PageSpeed Insights
  • จะเห็นได้ว่าจาก Metrics 4 ตัวที่แสดงผลอยู่นั้นจะมีเพียงแค่ 3 ตัวที่เป็นเกณฑ์วัดตัว Core Web เพราะจะมีสัญลักษณ์สีน้ำเงินติดอยู่ ซึ่งคะแนนไม่ต้องเป็นสีเขียวหมดก็ได้ แต่เพียงแค่ถ้าขึ้นเป็นสีแดงก็ต้องรีบแก้ไขในทันที

ดังนั้นคุณจะเห็นด้วยว่าคะแนนมีการแสดงผลเป็นแบบเส้น ๆ เนื่องจากเพราะจะเป็นการให้คะแนนแบบเปอร์เซ็นต์ โดยจะคำนวณจากประสิทธิภาพของการเข้าใช้งานเว็บไซต์ว่าควรได้สีเขียวหรือสีแดงและจะรวมออกมาได้กี่เปอร์เซ็นต์ เพราะ Google อยากรู้เป็นภาพรวมว่าคนเข้าเว็บเราส่วนใหญ่ 3 ใน 4 นี้ ได้รับประสบการณ์ใช้งานที่ดีมากแค่ไหน แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นสีเขียวนั่นคือคนเข้าเว็บส่วนใหญ่ก็โหลดเร็วดี

นอกจากนี้ จากรูปจะเห็นได้ว่าเหนือ URLs จะมีสองตัวเลือกคือ This URL กับ Origin ข้อแตกต่างก็คือ This URL คือคะแนนของหน้าเว็บที่คุณกำลังเช็ก ส่วน Origin คือคะแนนของทุกหน้าในเว็บคุณแบบรวม ๆ ดังนั้นถ้าคุณเอาหน้าเว็บของคุณที่คนเข้าน้อย ๆ ไปเช็กอาจจะมีข้อมูลไม่พอจนไม่เห็นข้อมูลใน This URLs แต่อย่างน้อยก็จะเห็นข้อมูลใน Origin แน่นอน

การให้คะแนน Core Web Vitals ของเว็บไซต์คุณดีขึ้น

อย่างที่ทราบกันดีว่าหากมีการตรวจเช็กคะแนนผ่านทาง Google PageSpeed Insights แล้วทาง Google จะมีตัวช่วยเสริมมาต่อท้าย นั่นคือการที่จะอธิบายแบบรวม ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปรับปรุงหากเว็บไซต์คุณคะแนนแย่ หรือในบางครั้ง Google ก็มีการใช้เทคนิคคุณในการทำให้เว็บไซต์ดีขึ้น โดยมีดังนี้

  • การเลือกเอาคอนเทนต์หรือเนื้อหาในเว็บไซต์ที่ขนาดใหญ่จนเกินไปออก เช่น วิดีโอ
  • การลดขนาดของรูปภาพที่มีขนาดข้อมูลที่ใหญ่ก่อนลงเว็บไซต์ โดยสามารถใช้ Plugin Imagify หรือ WordPress ได้
  • การเอาโค้ดที่ไม่จำเป็นออกโดยการไป Delete Plugins บน WordPress ที่ไม่ได้ใช้
  • การเลือก Host ที่โหลดได้รวดเร็ว
  • การตั้ง Lazy Load คือการทำให้รูปโหลดขึ้นมาเมื่อต้องใช้เท่านั้น แล้วมันจะค่อย ๆ โหลดขึ้นมาจนสมบูรณ์ โดยสามารถใช้ Plugin ช่วยได้
  • การใช้ Cache คือการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ เพื่อที่สำหรับผู้ใช้งานที่เคยเข้ามาในเว็บไซต์คุณแล้วเมื่อจะเข้าอีกครั้งก็จะไม่ต้องรอโหลด โดยปลั๊กอินที่จะช่วยในการ Cache มีทั้ง WP Rocket LiteSpeed Cache หรือ W3 Total Cache เป็นต้น
  • การกำหนด attribute dimensions ไว้เลย เป็นการที่จะทำให้รู้ว่าต้องเก็บพื้นที่ให้กับรูปภาพขนาดเท่าไหร่ และการทำแบบนี้จะช่วยให้หน้าจอไม่เลื่อนไปมาแน่นอน