Meta description
เป็นคำอธิบายย่อๆของ blog, page หรือ post เพื่อแสดงบน search engines เมื่อมีคนค้นหาเจอเว็บของคุณอยู่ในหน้าแสดงผลการค้นหา (SERP) เพื่อให้รู้ว่าหน้านี้ของคุณเกี่ยวกับอะไร โดยที่คำอธิบายนี้จะไม่ได้แสดงอยู่บนหน้าเว็บจริงๆของคุณ โดยที่ Meta description นี้จะแสดงผลอยู่ที่ 2 บรรทัด คุณจึงไม่ควรเขียนสั้นหรือยาวเกินไป และควรใส่ keywords ลงไปด้วย เพราะมันมีส่วนช่วยในการจัดอันดับอยู่บ้าง
วิธีการทำงานก็คือเมื่อมีคนค้นหาข้อความบน google ข้อความนี้จะช่วยให้การประมวลผลว่าเว็บไซต์ไหนควรได้แสดงผลบ้างและในอันดับเท่าไร การแสดงผล บนหน้าgoogle จะมี 2 แบบคือ
1. ถ้า meta description ของเว็บไซต์ประกอบด้วย “ข้อความหลัก” ที่ user ค้นหา กูเกิ้ลจะนำมาแสดงผลเป็น meta description
2. ถ้า meta description ไม่มี “ข้อความหลัก” ที่ user ค้นหา กูเกิ้ลก็จะแสดงผลเนื้อหาบางส่วนที่มีอยู่ในเว็บไซต์แทน
และถ้าคุณเขียนเว็บไซต์ด้วย WordPress คุณสามารถตั้งค่า meta description ได้เองด้วย plugin “All In One SEO Pack” ด้วยนะครับ
Meta keywords
หรือก็คือคำหลักที่แต่ละ blog, page หรือ post ใช้บน search engines ซึ่งในปัจจุบัน หลายๆคนคิดว่า search engines ส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับส่วนนี้แล้ว แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม การใส่ keywords ที่เหมาะสมลงไปสักหน่อย ก็ไม่ได้เสียหายอะไรใช่ไหมละครับ และเหมือนเดิมถ้าคุณเขียนเว็บไซต์ด้วย WordPress คุณสามารถตั้งค่า meta keywords ของแต่ละหน้าได้เองด้วย plugin “All In One SEO Pack” ได้ครับ
Meta tags
ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ meta description และ meta keywords ซึ่งจะอยู่ในส่วน HEAD ของ HTML การใส่ meta tags นี้ไม่ได้ใส่เพื่อ user แต่เป็นการใส่เพื่อหวังผลจาก search engines เพื่อช่วยให้เครื่องมือค้นหาเหล่านั้นเข้าใจว่าหน้าเว็บไซต์ของเรานั้นเกี่ยวกับอะไรบ้าง อย่าลืมใส่กันด้วยนะครับ
Natural links
หมายถึง links ทั้งหมดที่ส่งเข้ามาที่เว็บไซต์ของคุณโดยธรรมชาติ โดยที่คุณไม่ได้สร้างมันขึ้นมายกตัวอย่าง เช่น ถ้าคุณเขียนบทความหรือโพสต์สิ่งที่ดีหรือเป็นที่สนใจของคนมากๆ มักจะมีคนแชร์หรือส่งลิงค์มาที่เว็บของคุณ เราเรียก links เหล่านั้นว่า natural links
Nofollow
เป็นทางเลือกในการสร้าง link แบบหนึ่ง โดยทั่วไปในการสร้าง link พวกมันมักจะถูกตั้งค่าเป็น follow link เพื่อให้ search engine ติดตาม link ไปดูว่ามาจากที่ไหนและทำให้เว็บไซต์นั้นได้รับคะแนนไปด้วย แต่หากเราเลือกเป็น nofollow จะเป็นการบอกกับ search engines ว่าไม่ต้องสนใจ ไม่ต้องตาม link นี้ไป การสร้าง nofollow link ก็แค่เพิ่ม extra attribute เข้าไปใน HTML link แบบนี้ครับ rel=”nofollow”
ยกตัวอย่างเช่น <a href=”http://wikipedia.org/” rel=”nofollow”>Wikipedia</a>
Off-page SEO
ส่วนประกอบของการทำ SEO มี 2 อย่างคือ “on-page” และ “off-page” ในส่วนของ off-page คือการกระทำทุกขั้นตอนที่คุณทำนอกเว็บไซต์ของคุณเพื่อให้อันดับดีขึ้น หรือที่เรารู้กันหลักๆเลยก็คือการสร้าง link นั่นแหละครับ
On-page SEO
ส่วน On-page ก็คือทุกขั้นตอนที่คุณทำบนเว็บไซต์ของคุณเพื่อให้อันดับดีขึ้น เช่น การปรับแต่งโครงสร้าง HTML, tags, description ต่างๆเพื่อให้เว็บของคุณโหลดได้เร็วขึ้น การเช็ค keywords density การปรับแต่งโครงสร้างของ links ภายในเว็บไซต์ เป็นต้น
Organic search
การค้นหาแบบ organic หมายถึงเวลาที่คุณไปที่ google และใส่คำหรือวลีที่ต้องการค้นหา และกดปุ่ม search
Organic search results (natural search results)
เมื่อคุณค้นหาใน google จะพบว่าผลการค้นหาที่แสดง จะมี 2 ตำแหน่ง คือผลที่แสดงทางซ้าย และทางขวา ส่วนของผลที่แสดงทางซ้ายมือของคุณคือผลการค้นหาแบบ organic ซึ่งเป็นผลที่เราทุกคนมุ่งหวังให้ user ค้นเจอเรานั่นเอง (ใช่แล้ว เราทำ SEO เพื่ออยากให้เว็บแสดงผลตรงนี้แหละ) ส่วนผลที่แสดงทางขวเรียกว่า paid results ซึ่งมาจากการจ่ายเงินให้ google หรือเรียกว่า AdWords ads นั่นเอง
PageRank
หรือเรียกสั้นๆว่า PR เป็นอัลกอลิทึ่มที่สร้างโดย Larry Page (1 ใน 2 ผู้ที่ก่อตั้ง google) เพื่อคำนวนความสำคัญของเว็บไซต์ (หรือเรียกว่าการประมาณจะดีกว่า) ไม่มีใครรู้แน่นอน 100% ว่าเจ้า PR นี้ทำงานอย่างไรหรือคำนวนอย่างไร เพราะว่า google ไม่ค่อยเปิดเผยเรื่องนี้สักเท่าไร
อย่างไรก็ตาม แนวคิดที่เป็นที่เชื่อถือกันทุกวันนี้ คือการมีส่วนที่คำนวนมาจากจำนวของ backlinks ที่เว็บไซต์ได้รับ และค่า PR ของเว็บไซต์ที่ link มาหา ดังนั้นยิ่งคุณมี link มากเท่าไรและเพจที่ส่งlink มาให้คุณมี PR สูงๆ คุณก็จะได้รับค่า PR ที่ดีขึ้นไปด้วย
จึงไม่น่าแปลกใจที่เพจที่มีค่า PR ยิ่งสูง ส่วนมากจะเป็นที่นิยมและรู้จัก เช่น google.com มีค่า PR 10 ส่วน facebook และ yahoo ก็มีค่า PR 9 เช่นกัน
txt
เป็นชื่อไฟล์อย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อ SEO เพราะเป็นการบอกกับ search engines ว่าตรงไหนในเว็บไซต์เป็นพื้นที่จำกัดสำหรับพวกเขา อาจฟังดูแปลกๆแต่ที่จริงแล้วสำคัญมากนะครับ ประโยชน์ของมันก็เช่น คุณสามารถยกเว้นหน้า admin ออกจากการถูก index ได้ (เช่นส่วนของ wp-admin สำหรับ WordPress blog) และคุณยังสามารถป้องกันไม่ให้ search engines เห็น content ซ้ำๆในเว็บไซต์ได้ด้วย
Sandbox, supplemental index
เชื่อกันว่า google มี second index ที่เรียกว่า sandbox (supplement index) หรือที่คุณอาจเคยได้ยินเรื่องหลุมทรายของ google มาก่อนเพราะว่าเว็บไซต์ที่เกิดใหม่ไม่ใช่ว่าจะได้ไปขึ้นอยู่หน้า main index เสมอไป บางเว็บจะถูกใส่อยู่ใน sandbox รอจนเวลาที่ใช่ที่ google จะให้เว็บไซต์นั้นๆ ไปแสดงอยู่ที่หน้า main index ซึ่งหมายความว่าเว็บไซต์ที่กำลังอยู่ใน sandbox จะไม่ได้โผล่ขึ้นมาให้เห็นตอนนี้และไม่รู้ว่าจะอยู่ อย่างนั้นนานเท่าไรด้วย เพราะ google มองว่าเว็บใหม่บางเว็บดูคล้ายสแปม
ถ้าคุณไม่อยากให้เว็บไปอยู่ในหลุมทรายนี้ ควรทำเว็บให้ดูเป็นธรรมชาติ มีบทความที่ดี ไม่ใช่ไปก๊อบบี้เค้ามา และก็ไม่ควรเร่งรีบทำ link หรืออะไรๆเร็วเกินไปครับ
Search engine
หรือเครื่องมือค้นหาเป็น software application ทำหน้าที่หลักคือค้นหาคำหรือวลีที่ user ใส่เข้าไป โดยอาศัย Algorithm เพื่อประมวลผลว่าเว็บไซต์ไหนควรขึ้นมาแสดงผลในอันดับเท่าไรบ้างและ algorithm นั้นไม่เป็นที่เปิดเผยซะด้วย และsearch engine ที่ยิ่งใหญ่และเป็นที่นิยมสุดก็คือ google นั่นเอง
SEM
ย่อมาจาก Search Engine Marketing หรือการทำการตลาดผ่านทางเครื่องมือค้นหา ซึ่งทำได้ 2 วิธีคือ 1. การเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์หรือทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ขึ้นไปอยู่ในอันดับต้นๆของ search engine ซึ่งจะได้ผลแบบ organic หรือ 2.จ่ายเงินให้กับ search engine เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับอยู่ในด้านของ “sponsored listings” เรียกว่าการซื้อโฆษณาที่ต้องจ่ายเงินตามที่ถูกคลิก (PPC : paid per click)
SEO
ย่อมาจาก Search Engine Optimization เป็นวิธีการปรับปรุงอันดับเว็บไซต์ใน search engines ให้ดีขึ้น หากคุณจะทำ SEO ควรทำคุ่กันทั้ง on-page และ off-page SEO ขั้นตอนการทำนั้นอาจเปลี่ยนไปได้ทุกวัน อะไรที่เคยทำได้ผลวันนี้อาจจะใช้ไม่ได้พรุ่งนี้ SEO จึงไม่ใช่งานที่ทำครั้งเดียวจบ แต่เป็นงานที่ต้องขยันทำต่อเนื่อง
SERP
ย่อมาจาก Search Engine Results Page ใช้เรียกหน้าการแสดงผลการค้นหาของ keywords ต่างๆบน google หรือ
เครื่องมือค้นหาอื่นๆ
Spider (crawler, bot, robot)
เป็นส่วนหนึ่งของ software ที่ใช้ท่องเว็บไซต์ เพื่อค้นหาและตรวจสอบเว็บไซต์ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับเว็บต่างๆ บ้าง และส่ง
ข้อมูลกลับไปที่ google หรือเครื่องมือค้นหาอื่นๆ เพื่อให้ index และจัดอันดับเว็บไซต์ต่างๆ
Supplemental result
หรือที่เรียกว่าผลลัพธ์เสริม คือ URL ที่อยู่ใน google supplemental index (เช่น sandbox) เป็นเหมือนฐานข้อมูลที่สองของ google ที่ถูกมองว่ามีความสำคัญน้อยกว่า หน้าข้อมูลเหล่านี้จะได้มาแสดงผลในหน้าค้นหาหลักก็ต่อเมื่อข้อมูลใน main index มีไม่พอ
Title tag
ทุกๆหน้าจะมี title tag อยู่ ส่วนที่ user สามารถมองเห็น title tag ก็คือตรง title bar บนบราวเซอร์ ตัวอย่างเช่น title tag ในหน้าที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้คือ “คำศัพท์ SEO ไม่รู้ไม่ได้แล้ว“ นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการบอกให้ search engines รู้ว่าหน้าไหนเกี่ยวกับอะไรบ้าง คุณจึงควรใช้เวลาสักนิดเพื่อเขียนให้แต่ละหน้าในเว็บของคุณมี title tag ที่ดี
URL (URI)
คือ address เฉพาะของแต่ละ web page
White hat SEO
ตรงข้ามกับ black hat SEO เลยละครับ สำหรับ White hat SEO เป็นขั้นตอนการทำ SEO ที่ search engines แนะนำให้คุณทำได้ แน่นอนว่ามันไม่มีอะไรอ้างอิงอย่างเป็นทางการสำหรับการทำ SEO ดังนั้นคุณจึงต้องฝึกฝน หมั่นหาข้อมูล และอ่าน SEO blogs ต่างๆ อยู่เสมอ และลองดูข้อมูล in-house google อย่างเช่น Official Google Blog บ้าง
XML sitemap
เป็นไฟล์ประเภทหนึ่ง (มักจะใช้ชื่อ sitemap.xml) มีหน้าที่คือทำให้ search engines รู้แผนผังเว็บไซต์ของแต่ละ URL ที่อยู่ในเว็บของคุณ เพื่อช่วยให้เว็บถูกเก็บ index ได้รวดเร็วขึ้น (ถ้าคุณใช้ WordPress จะมี plugin ชื่อ Google XML Sitemaps ช่วยให้สะดวกขึ้นครับ)
เขียนและแปลโดย : ตาโต Thai Top SEO